CDP101

รู้จัก Customer Data Platformแบบย่อยง่ายและอ่านเพลิน

เราจะพาคุณมาทำความเข้าใจ CDP ให้ถึงแก่นแต่กระชับ เทียบให้ดูว่าต่างกับ CRM ที่คุณคุ้นเคยดีอย่างไรบ้าง
ค่อยๆ ทำให้คุณเห็นภาพว่าทำไมองค์กรยุคนี้ ไม่มี CDP ไม่ได้ และทำไมถึงควรเลือก UniSight ให้เป็น CDP ขององค์กรคุณ

01

CDP คืออะไร?

สรุปสั้นๆ

  • CDP ใช้รวบรวมข้อมูลลูกค้าจากทุกแหล่ง ไม่ว่าลูกค้าจะมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์บนแพลตฟอร์มออนไลน์ไหน หรือหน้าร้านออฟไลน์ใด ก็นำมาแสดงอยู่ในหน้าเดียว ทำให้เราวิเคราะห์ลูกค้าได้และรู้จักเขาละเอียดลึกซึ้งกว่าที่เคย
  • CDP ช่วยร้อยเรียง Customer Insight ออกมาอย่างเป็นระบบ ซึ่งนักการตลาดสามารถนำไปประกอบร่างเป็น Customer Persona ที่แม่นยำขึ้น
cdp-fig-1.webp

Customer Data Platform (CDP) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยรวบรวม จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลของลูกค้า จากหลายช่องทางทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ เพื่อ ‘รู้จักตัวตนของลูกค้าแต่ละคน’ ได้ครบถ้วนรอบด้านในที่เดียว ช่วยให้องค์กรสามารถวิเคราะห์ลูกค้ารายบุคคล สร้างประสบการณ์ ที่ดีให้กับลูกค้า ส่งเสริมการขายและปรับกลยุทธ์การตลาดให้เข้ากับความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดียิ่งขึ้น

การขายสินค้าและบริการในยุคก่อนมีเทคโนโลยี ก่อนที่เครื่องดิจิทัลจะมีบทบาททุกแง่มุมของชีวิตแบบวันนี้ ถ้าเราขายสินค้าแบบมีหน้าร้าน ก็ต้องจดจำลูกค้า ประจำแบบแมนนวล แถมสินค้าตามใจฉัน คุยเรื่อยเปื่อยอยู่นานกว่าจะรู้จักลูกค้าประจำสักคนหนึ่ง ไม่รู้ว่าเขาจะมาซื้ออีกเมื่อไร จะใช้คำเชิญชวนแบบไหนดี ให้เขามาซื้อบ่อยๆ เราอาจใช้วิธีชมปากต่อปาก แจกใบปลิว ส่งอีเมล ลงทุนหน่อยก็ซื้อโฆษณาตามสื่อวิทยุโทรทัศน์ SMS แบนเนอร์เว็บไซต์ ใช้บัตรแสตมป์ สะสมแต้มเพื่อแลกส่วนลดหรือสินค้าฟรีเพื่อจูงใจลูกค้าให้กลับมาจับจ่ายซ้ำ แต่ทั้งหมดนี้เราต้องใช้คนเท่าไร ใช้งบแค่ไหน นานแค่ไหนกว่าการลงทุนลงแรง ทั้งหมดจะเห็นผล?

ต่อมา การตลาดออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โซเชียลมีเดียกลายเป็นสังคมใหม่ องค์กรแทบทั้งหมดมุ่งไปที่การโฆษณาบนแพลตฟอร์มต่างๆ อย่าง Facebook, Instagram, X (Twitter), Youtube, Tiktok โดยคอนเทนต์มาจากองค์กรเอง หรือจาก Key Opinion Leader (KOI), Influencer ซึ่งทั้งหมดก็อยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งสิ้น แต่เมื่อแพลตฟอร์มเป็นของคนละบริษัท การวัดค่า Ads Metrics เดียวกันก็เก็บข้อมูลไม่เหมือนกันไปด้วย นอกจากนี้ องค์กรเริ่มใช้ Line OA สื่อสารกับลูกค้า แม้ทำได้หลายอย่าง แต่ยังด้อยด้าน Personalized Advertising แต่ได้บรอดแคสต์หว่านๆ เผื่อว่าจะโดนใจใครได้บ้าง

คนที่ดูโฆษณาจะผ่านมาแล้วผ่านไป ไม่ใช่ลูกค้าหรือเปล่า คนที่กดเข้ามาดูเว็บไซต์อยู่ๆ ก็ปิดหน้าหายไปโดยไม่รู้สาเหตุ มีแต่ความสงสัยว่า ทำแบบนี้ดีหรือยัง? ทำแล้วจะได้ผลไหม? ทำไมเขาถึงไม่สนใจเรา? ทำไมเขาถึงหายไป? และเพราะไม่มีเครื่องมือที่จะตอบคำถามเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง ตั้งอยู่บนหลักฐานที่ชัดเจน เราถึงไม่รู้เลยว่า โฆษณาตัวหนึ่งๆ หรือแผนการตลาดของเราจะมีประสิทธิภาพแค่ไหน ในเมื่อมันกระจายไปคนละทิศละทางจนเก็บข้อมูลยากแบบนี้?

ถ้าถนนทุกสายมุ่งสู่ ‘การเพิ่มยอดขาย ลดรายจ่าย ตัดต้นทุน พัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน’ อันเป็นเป้าหมายคลาสสิกขององค์กรธุรกิจ ทุกยุคทุกสมัย ปัญหาคลาสสิกของทุกองค์กรก็คือ ‘ไม่รู้ว่าลูกค้าเป็นใคร สนใจอะไร รู้จักเราได้ยังไง ซื้อของของเราบ่อยแค่ไหน แล้วอนาคตจะกลับมาซื้ออีกไหม’ CDP จึงเป็นเครื่องมือที่ขมวดจบทุกอย่างนำเป้าหมายและวิธีการทำงานที่เราคุ้นเคยมาเสริมอาณุภาพด้วย เครื่องมือล้ำสมัย ทุ่นแรงคน ทุ่นเวลา ตอบทุกโจทย์ และเห็นผลลัพธ์ได้ทันทีเพื่อแก้ไขได้ทันเวลา โดยต้องขับเคลื่อนด้วยปัจจัยตัวสำคัญคือ ‘ข้อมูลของลูกค้า’ นั่นเอง

การรู้จักลูกค้าอย่างลึกซึ้งมีข้อดีคือทำให้เรารู้ว่าต้องขายอะไร อย่างไร เมื่อไร ให้ใคร ไม่เสียเวลากับสิ่งที่ไม่ใช่ แม่สื่ออย่าง CDP นี่แหละที่ทำให้องค์กร จีบลูกค้าได้สำเร็จ ช่วยเหลือทุกภาคส่วนของธุรกิจ โดยเฉพาะคนที่ต้องคลุกคลีกับลูกค้ามากเป็นพิเศษอย่างนักการตลาด นักขาย นักการสื่อสาร

ด้วย CDP คุณจะรู้จักลูกค้าลึกขึ้น เห็นข้อดีและข้อควรปรับปรุงของตัวเองชัดเจนกว่าเดิม เป็น Insight ที่หาไม่ได้จากเครื่องมืออื่น

02

CDP กับ CRM ต่างกันอย่างไร?

cdp-fig-2.webp

Customer Data Platform (CDP) และ Customer Relationship Management (CRM) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการข้อมูลลูกค้า เหมือนกัน แต่ CRM เป็น ‘ส่วนหนึ่ง’ ของ CDP เรียกได้ว่าถ้าไม่มี CDP ดึงข้อมูลลูกค้า และจับกลุ่มอย่างเป็นระเบียบก่อนในขั้นต้นแล้ว CRM ก็จะเกิดขึ้นโดยได้ข้อมูล ไม่ครบครันเท่า แห้งแล้งกว่า

เมื่อระบบ CDP รวบรวมและประมวลผลข้อมูลลูกค้า ทำให้สามารถสร้างโปรไฟล์ของลูกค้าที่แม่นยำครอบคลุม เข้าใจลักษณะพิเศษของลูกค้า แต่ละกลุ่มได้ ดังนั้น ธุรกิจสามารถติดตามพฤติกรรมของลูกค้าและปรับใช้กลยุทธ์การตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ใช้มากในสเต็ป Customer Journey ช่วง การพิจารณา (Consideration) > การเปลี่ยนมาเป็นลูกค้า (Conversion) > การตัดสินใจซื้อ (Purchase) จากนั้น CRM จะเข้ามาช่วยเสริมในด้านการซื้อซ้ำ (Retention) มุ่งเน้นไปที่การจัดการและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีอยู่

CDP

รวมและจัดการข้อมูลลูกค้าจากหลายแห่ง

การได้มาซึ่งข้อมูล

รวมข้อมูลจาก First-Party, Second-party, Third-Party ด้านการสื่อสาร การทำธุรกรรม และพฤติกรรม Online ระบบทำงานเชิงรุกในการกวาดหาข้อมูล ลูกค้าจากแหล่งต่างๆ แล้วนำมาเชื่อมต่อ จะได้เป็นโปรไฟล์ของลูกค้าที่รอบด้าน

จุดประสงค์การใช้งาน

ใช้ข้อมูลเพื่อการตลาดที่มีเป้าหมายชัดเจน การปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า และการตัดสินใจทางธุรกิจ

รูปแบบคอนเทนต์

ใช้ข้อมูลเพื่อสร้างโปรไฟล์ลูกค้าที่ครบถ้วนและสื่อสาร ด้วยการตลาดที่หลากหลาย เหมาะสม ตรงตามความสนใจ

CRM

รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า

การได้มาซึ่งข้อมูล

ข้อมูลที่ลูกค้าหรือพนักงานขายป้อนเข้าไปเอง (First-Party) เช่น ข้อมูลการซื้อขาย การติดต่อกลับ ระบบทำงานเชิงรับ ในการจะได้ข้อมูลมา ต้องรอจนกว่าจะมีลูกค้าสมัครสมาชิก หรือยินยอมให้ข้อมูล ณ จุดขาย

จุดประสงค์การใช้งาน

ใช้ในการติดตามผลลัพธ์การขาย บริการลูกค้า และการจัดการกิจกรรมการขาย

รูปแบบคอนเทนต์

ใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ สื่อสารข่าวและโปรโมชั่น การให้บริการลูกค้า
03

ทำไมต้องใช้ CDP?

สรุปสั้นๆ

  • CDP เก็บข้อมูลลูกค้าได้หลากหลายมิติ: ความสนใจ ข้อมูลส่วนตัว พฤติกรรมการท่องโลกออนไลน์ การเสพสื่อ พฤติกรรมการซื้อสินค้า รายการธุรกรรม ทำให้รวบรวมประกอบเป็นภาพลูกค้าหนึ่งคนได้ชัดเจน นำไปต่อยอด Personalized Marketing ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • CDP จึงช่วยเสริมพลังการวางแผนการตลาด ส่งข้อความหาถูกคน ด้วยเนื้อหาที่เขาถูกใจ ในเวลาที่ถูกต้อง เสริมประสิทธิภาพ ของการตลาดทุกย่างก้าวบน Customer Journey อย่างเห็นได้ชัด
cdp-fig-3.webp

แนวคิดคลาสสิกที่ว่าหากพฤติกรรมของลูกค้าคือกระจกสะท้อนข้อดีและข้อปรับปรุงขององค์กร แปลว่าถ้าสินค้าดี การตลาดดี ลูกค้าก็รัก แต่ในโลกสมัยใหม่นี้ มีปัจจัยมากเกินไปจนทำให้เราไม่อาจรู้ความในใจแท้จริงของลูกค้าได้ (สามวันดี สี่วันทัวร์ลง) CDP เลยช่วยให้คุณยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัว คือ หนึ่ง ‘เดาใจลูกค้าได้แม่นยำมากขึ้น’ โดยนำเสนอแต่ชอยส์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดมาให้คุณเลือกทำแผนการตลาดที่ได้ผลจริง ประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยี จนสามารถพยากรณ์พฤติกรรมของลูกค้าล่วงหน้าได้

สอง ทำให้คุณ ‘รู้จักตัวเองได้ดียิ่งขึ้น’ ผ่านฟีดแบ็กและกิจกรรมของลูกค้าบนโลกออนไลน์ รวบรวมจากแพลตฟอร์มต่างๆ มาไว้ในที่เดียว ได้ข้อมูลที่สะท้อน จุดอ่อนจุดแข็งของเรา องค์กรจึงลดภาระด้านการตลาดกับการสื่อสารลงมาก และยังได้แนวทางพัฒนาสินค้าและบริการได้จาก CDP ด้วย

ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล (Data Unification) เริ่มต้นจากค้นหาข้อมูลจากทางออฟไลน์และออนไลน์หลายช่องทาง เช่น การพูดถึงชื่อแบรนด์ โต้ตอบระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ประวัติการซื้อ การติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า เป็นต้น จากนั้นนำมารวมกันในที่เดียวและเป็นฟอร์แมตเดียวกัน จัดระเบียบข้อมูล ให้เป็นมาตรฐาน ทำให้มองเห็นลูกค้าในภาพรวม

เชื่อมต่อโปรไฟล์ของลูกค้า (Profile Mapping) เก็บข้อมูลส่วนตัวที่กระจัดกระจายมาประกอบกันเป็นลูกค้าหนึ่งคน เริ่มจากระบุตัวตนของลูกค้า (Customer Identification) ด้วยชื่อ ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลธุรกรรม แอคเคาท์บนโซเชียลมีเดีย เน็ตเวิร์กไอดี ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน แล้วเชื่อมต่อกับฝั่งการขาย ทั้งประวัติการเข้าชมสินค้าและการซื้อ ทำให้รู้จักลูกค้าคนนี้ได้ชัดเจนราวกับเป็นเพื่อนสนิทกัน ออกมาวางแผ่เป็นรายบุคคล (Single View) แบบเรียลไทม์

จัดกลุ่มลูกค้า (Customer Segmentation) ให้เหมาะสมกับประเภทธุรกิจ สินค้าและบริการขององค์กร ลูกค้าหนึ่งคนอาจอยู่หลายกลุ่ม เช่น ลูกค้าที่ใช้จ่ายเยอะ-น้อย ปริมาณการซื้อสูง-ต่ำ ซื้อประจำ-ไม่ประจำ ซื้อผ่านช่องทางไหนมากที่สุด โลเคชั่นยอดนิยม วิธีชำระเงิน เป็นต้น ช่วยในเรื่องการตลาด เฉพาะบุคคล (Personalize Marketing) โดยคัดสรรและเลือกสิ่งที่ดีและลูกใจลูกค้าที่สุด ทำให้องค์กรจัดสรรงบประมาณ ได้ถูกจุดทุ่มเงินกับลูกค้าคนสำคัญ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงต่อยอดการเป็นพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจกับองค์กรอื่นได้ด้วย

04

ทำไมต้องเป็น UniSight?

สรุปสั้นๆ

  • UniSight เป็น Effortless CDP ที่ใช้ง่าย เป็นเพื่อนคู่คิดขององค์กรธุรกิจไทย
  • ฟังก์ชั่นพื้นฐานของ UniSight ครบครันเทียบเท่าเครื่องมือ CDP ระดับโลก แต่มีจุดเด่นตรงส่วนเสริมหลัก คือ Ads Campaign Comparison, Marketing Automation Flow, Auto Segmentation เชื่อมต่อกับระบบส่ง SMS และอีเมลที่รวดเร็ว เป็นแพลตฟอร์มครบจบในที่เดียวที่นักการตลาดทุกคนต้องรัก
cdp-fig-4.webp

หน้าที่ของ CDP อื่นทำให้แค่รู้จักลูกค้าได้ลึกซึ้งขึ้น แต่ UniSight ทำได้มากกว่านั้น ช่วยไกด์บนฐานของข้อมูลตัวเลขที่เชื่อถือได้ ให้รู้ว่าองค์กรควรทำอะไรต่อ ด้วยวิธีการอย่างไร เรานำเสนอแต่ชอยส์ที่เหมาะสมกับแต่ละธุรกิจเท่านั้น

UniSight มุ่งมั่นทำทุกอย่างให้ง่ายต่อการใช้งาน ทั้งหน้าตาของแพลตฟอร์ม การแสดงผล การให้ระบบเรียนรู้และทำงานแบบอัตโนมัติ การคัดข้อมูล ที่จำเป็นขึ้นมาไว้หน้าแรกๆ โดยไร้กังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ออกแบบระบบและแนวคิดการทำงานมาเพื่อองค์กรในไทยใช้งานได้ง่าย ตอบโจทย์การทำธุรกิจสำหรับคนไทย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและเทคโนโลยีคอยให้คำปรึกษา ทีมซัพพอร์ตแสตนบาย 24 ชั่วโมง ให้ทุกองค์กรธุรกิจอุ่นใจว่ามีผู้ช่วยคอยติดตามเสมอ ช่วยให้คุณรู้จักลูกค้าทุก Customer Journey อย่างลึกซึ้งชัดเจนกว่าที่เคย UniSight จึงเป็น Effortless CDP เจ้าแรกของประเทศไทย

ฟังก์ชั่นหลักส่งเสริมทุกกลยุทธ์การตลาด ไม่จำเป็นต้องไปหาที่อื่นอีก

Data Unification

รวบรวมข้อมูลของลูกค้าจากทุกหนแห่งมาไว้ในแพลตฟอร์มเดียว ประมวลออกมาเป็น Customer Insight ที่ละเอียดกว่าทุกเครื่องมือที่เคยทำได้

Offline Tracking

เก็บข้อมูลของลูกค้า ณ จุดขาย (Point of Sale: POS) เน้นในด้านของประวัติการซื้อสินค้า ออนกราวน์อีเวนท์ กิจกรรมส่งเสริมการขาย ทั้งหลาย รวมถึงเป็นเครื่องมือที่ช่วย แสดงผลว่าผู้เห็นโฆษณานี้บนแพลตฟอร์มออนไลน์ใช่คนเดียวกับที่ไปซื้อสินค้าในโลกออฟไลน์หรือไม่ เพื่อให้นักการตลาดได้ทราบว่าผลลัพธ์ และประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาดนั้นๆ

Online Tracking

ติดตามพฤติกรรมท่องโลกออนไลน์โดยได้มาตรฐานความปลอดภัย จับตา Conversion ผ่านการคลิกลิงก์ กดดูโฆษณา ทำ Website Tracking สำรวจพฤติกรรมการท่องเว็บไซต์ของลูกค้าว่าส่วนไหนของเว็บไซต์เราที่ได้รับความสนใจมากที่สุด เห็น Customer Journey บนโลกออนไลน์โดยเฉพาะจุด Drop off และ Conversion รวมถึง Social Listening เก็บฟีดแบ็กจากลูกค้าที่พูดถึงแบรนด์ได้โดยตรง

Offline-to-Online Tracking

เมื่อติดตามลูกค้าทั้งออฟไลน์และออนไลน์แล้ว จึงเชื่อมต่อโลกทั้งสองใบไว้ด้วยกันมาไว้บน UniSight เน้นการสร้าง โปรไฟล์ของลูกค้า อย่างรอบด้าน 360 องศา จับแพทเทิร์นพฤติกรรมเพื่อนำไปทำการตลาดเฉพาะบุคคลและ Marketing Automation Flow ต่อได้

Data Analysis

นำข้อมูลที่มีอยู่มาเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ที่ครอบคลุมในทุกอุตสาหกรรม

Segmentation

ระบบแบ่งส่วนตลาดและจัดกลุ่มลูกค้าตามลักษณะเฉพาะที่คล้ายกัน ตามแกนต่างๆ ไม่ว่าจะฝั่งการตลาดหรือการขาย ทำให้เห็นภาพผู้รับสาร ชัดเจนสำหรับการทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง และคุณสามารถใช้เครื่องมือที่ทรงพลังอย่าง UniSight ให้ AI เรียนรู้ด้วยตัวเองจับทาง แพทเทิร์น เพื่อจัดกลุ่มอัตโนมัติ (Auto Segmentation) โดยไม่ต้องรอให้นักการตลาดเสียเวลาคัดเลือก แบบแมนนวล

Ads Campaign Comparison

เปรียบเทียบประสิทธิภาพของโฆษณาแต่ละตัวที่อยู่บนแพลตฟอร์มต่างๆ ทำให้ชั่งน้ำหนักว่าโฆษณาและแคมเปญไหนได้ไปต่อ หรือต้องดรอปลง เนื้อหาแบบไหนที่คนชอบดู ช่วยให้นักการตลาดไหวตัวได้ทัน ไม่เสียเงินเบิร์นงบไปโดยไม่เกิดผลที่น่าพอใจ

Smart Action

วางแผนกลยุทธ์การตลาดอย่างชาญฉลาด ช่วยประหยัดงบประมาณ ประหยัดแรงคน ประหยัดเวลา แต่นำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

Marketing Automation

การตลาดแบบอัตโนมัติด้วยการออกแบบโฟลวล่วงหน้า (Pre-built Flow) ปรับแต่งได้ตามความต้องการและกลยุทธ์ของนักการตลาด ช่วยประหยัดเวลาการคิด Next Action เพราะได้วางแผนไว้ทั้งหมดแล้ว สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าอย่างถูกต้อง สื่อสารแม่นยำ ไปทั้งทางออฟไลน์ SMS อีเมล โซเชียลมีเดีย แคมเปญโฆษณาที่โดนใจ เพื่อดักทางและซื้อใจคนที่สนใจสินค้าของเรา เปลี่ยน Prospect/Lead ให้กลายเป็น Customer ดึงลูกค้าปัจจุบันให้กลับมาซื้อซ้ำ บันดาลความเป็นไปได้แก่ทุกๆ ซีนนาริโอ แต่มีตอนจบที่แฮปปี้เอนดิ้งเดียวกัน คือปิดการขายได้สำเร็จ

Content Studio

สตูดิโอสร้างคอนเทนต์ด้วยเทมเพลตที่สร้างสรรค์ไว้ล่วงหน้า ร่างแบบขึ้นมาจากโมเดลเนื้อหาที่ประสบความสำเร็จ เป็น Best Practice ให้นักการตลาดได้เรียนรู้เทรนด์และศิลปะการสื่อสารจากงานที่ถูกใช้จริง แมตช์ Message กับ Channel และ Receiver ได้เหมาะสม มีระบบ AI ที่ช่วย Generate รูปแบบคำพูดให้

Content Personalization

ประกอบร่างสร้างสรรค์เนื้อหาที่เฉพาะเจาะจง โดยวิเคราะห์รสนิยมและความชอบจากการ Track เนื้อหาที่ลูกค้ากลุ่มนั้นๆ สนใจดูเป็นพิเศษ จากการคลิกโฆษณาหรือเยี่ยมชมหน้าเพจไหนบ่อยๆ

Campaign Broadcasting

ส่งแคมเปญการสื่อสารเป็นครั้งๆ ไปยังคนหมู่มาก ครั้งเดียวจบ เป็นการทำงานคนละแบบกับ Marketing Automation ที่ทำเฉพาะบุคคล ที่ส่งคอนเทนต์ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะปิดการขายได้ ซึ่งเหมาะสำหรับแคมเปญที่ต้องการผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว เน้นแจ้งข่าวสาร หรือสร้าง Brand Awareness วัดผลได้เช่นกัน

CRM

ที่ผนวกรวม Loyalty Program กับ Chat Management บริหารความสัมพันธ์ลูกค้า เพื่อให้มั่นใจว่าการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาวกับลูกค้าจะเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง

Loyalty Program

โปรแกรมความภักดีที่จะช่วยรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้าให้อยู่ด้วยกันแบบยั่งยืน

Chat Management

ระบบบริการจัดการการตอบแชทเชื่อมต่อได้หลายแพลตฟอร์มพิ่มประสิทธิภาพทีมแอดมินมอบประสบการณ์ที่ดีให้ทีมกับลูกค้า
  • Multi-Touchpoint รวมช่องทางการสื่อสารทั้ง LINE OA, Facebook, Messenger และ Instagram มาไว้ในที่เดียว ใช้ง่ายสะดวก รวดเร็ว
  • Ticket ระบบที่ช่วยรวบรวมคำร้องขอของลูกค้าทั้งหมดที่มาจากหลากหลายช่องทางนำมาจัดเก็บไว้ในที่เดียว ฟิลเตอร์ได้ตามเวลาที่ได้รับข้อความ ความสำคัญของเรื่องที่ร้องเรียน เป็นต้น ไม่ว่าลูกค้าจะติดต่อเข้ามาทาง Live Chat, E-mail, Facebook, Messenger, Line ก็ตาม ข้อความเหล่านั้นจะถูกส่งเข้ามาและถูกเก็บเป็น Ticket ไว้ในระบบให้แอดมิน Live Agent ใช้งาน

Enrich All Customer Journey Stages

  • การเปลี่ยนมาเป็นลูกค้า (Conversion)
  • จับตาพฤติกรรมบนโลกออนไลน์หรือติดตามจากอีเวนท์การตลาดออฟไลน์ของคนที่ใกล้จะกลายเป็นลูกค้า (Prospect) โดยมี Prospect Scoring ตรวจได้ว่าเขาสนใจคุณแค่ไหน แม้ว่าคุณจะยังไม่มีข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์ (Demography) ของเขาเลย แค่มีช่องทาง การติดต่อซึ่งระบบจะทำ Profile Mapping รู้ว่าคนคนนี้เป็นคนเดียวกัน ถึงจะอยู่คนละแพลตฟอร์มก็ตาม คุณจึงสามารถส่งข่าว แจ้งเตือน โปรโมชั่นดึงดูดใจ มอบสินค้าขนาดทดลองหรือเปิดให้ทดลองใช้บริการฟรี ส่งเสริมความใกล้ชิดของแบรนด์กับProspect ให้แนบแน่นยิ่งขึ้น
  • การตัดสินใจซื้อ (Purchase) เมื่อ Prospect พึงพอใจกับข้อมูลและการบริการลูกค้าก่อนการขาย UniSight จะวิเคราะห์ปัจจัย ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของเขา ถ้าเป็นเรื่องราคาก็ส่งตรงโค้ดลดและโปรโมชั่นที่เหมาะสมกับยอดใช้จ่ายหรือแม้แต่กระตุ้นให้ซื้อจำนวน มากกว่าที่ตั้งใจไว้เพื่อความคุ้มค่า ถ้าเป็นเรื่องความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการคุณสามารถส่งตรงรีวิวจากผู้ใช้งานจริง ที่น่าเชื่อถือได้โดยตรง ให้เขาตกลงปลงใจเป็นลูกค้าของคุณในที่สุด
  • การซื้อซ้ำ (Retention) เพิ่มยอดซื้อซ้ำด้วยการตั้งเวลาการสื่อสารคอนเทนต์ ‘For You’ ผ่านช่องทางต่างๆ อย่างกับไปนั่งอยู่ในใจลูกค้า ส่งข่าวสารและโปรโมชั่นที่เขาน่าจะสนใจ เสริมทัพด้วยระบบ CRM อย่าง Loyalty Program สะสมคะแนนแลกสิทธิพิเศษ หรือของรางวัลต่างๆ ไม่ให้ลูกค้าเปลี่ยนใจไปไหน
  • การลดการสูญเสียลูกค้า (Churn Reduction) ไม่ว่าลูกค้าคนไหนท่าทางใกล้หมดใจไปซบไหล่แบรนด์อื่น คุณจะรู้ล่วงหน้า และรั้งเขาไว้ได้ด้วยการติดตาม Churn Score ยิ่งค่าคะแนนสูงยิ่งมีโอกาสที่เขาจะไป คุณยิ่งต้องยื้อไว้ทุกวิถีทาง และระบบยังจำแนกกลุ่มลูกค้า ตามลำดับความสำคัญ เพื่อคุณจะเลือกทุ่มทุนไปกับลูกค้ากลุ่มไหนก่อน-หลัง ช่วยบริหารทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การพาลูกค้าเก่ากลับมาซื้อใหม่ (Churn Reactivation) ตอนนั้นอาจจะสุดแรงรั้งลูกค้าคนนี้แล้วจึงต้องยอมปล่อยมือ แต่เมื่อเวลาผ่านไป คุณสามารถส่งข้อความอัตโนมัติ (Automation Flow) ไปทักทายเขาใหม่ได้ คอยส่งความปรารถนาดี ข่าวสาร และโปรโมชั่นที่เขาชอบ ปรับแต่งคอนเทนต์ตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม เพิ่มโอกาสที่ลูกค้าเก่าจะกลับมาให้คุณดูแลอีกครั้ง